วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

โครงการหญ้าแฝก

                                      หญ้าแฝก


                         





                                                               ลักษณะของหญ้าแฝก

หญ้าแฝก เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวตระกูลหญ้าชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับข้าวโพด ข้าวฟ่าง อ้อย ซึ่งพบกระจายอยู่ทั่วไปหลายพื้นที่ตามธรรมชาติ จากการสำรวจพบว่า มีกระจายอยู่ทั่วโลกประมาณ ๑๒ ชนิด และสำรวจพบในประเทศไทย ๒ ชนิด ได้แก่ 
๑. กลุ่มพันธุ์หญ้าแฝกลุ่ม ได้แก่ พันธุ์สุราษฎร์ธานี กำแพงเพชร ๒ ศรีลังกา สงขลา ๓ และพระราชทาน ฯลฯ 
๒. กลุ่มพันธุ์หญ้าแฝกดอน ได้แก่ พันธุ์ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ร้อยเอ็ด กำแพงเพชร ๑ นครสวรรค์ และเลย เป็นต้น 
หญ้าแฝกเป็นหญ้าที่ขึ้นเป็นกอ หน่อเบียดกันแน่น ใบของหญ้าแฝกมีลักษณะ แคบยาว ขอบขนานปลายสอบแหลม ด้านท้องใบจะมีสีจางกว่าด้านหลังใบ มีรากเป็นระบบรากฝอยที่สานกันแน่นยาว หยั่งลึกในดิน มีช่อดอกตั้ง ประกอบด้วยดอกขนาดเล็กดอกจำนวนครึ่งหนึ่งเป็นหมัน 

ลักษณะพิเศษของหญ้าแฝก
การที่หญ้าแฝกถูกนำมาใช้ปลูกในการอนุรักษ์ดินและน้ำ เนื่องมาจากมีลักษณะเด่นหลายประการ ดังนี้ 
๑. มีการแตกหน่อรวมเป็นกอ เบียดกันแน่น ไม่แผ่ขยายด้านข้าง 
๒. มีการแตกหน่อและใบใหม่ ไม่ต้องดูแลมาก 
๓. หญ้าแฝกมีข้อที่ลำต้นถี่ ขยายพันธุ์โดยใช้หน่อได้ตลอดปี 
๔. ส่วนใหญ่ไม่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ทำให้ควบคุมการแพร่ขยายได้ 
๕. มีใบยาว ตัดและแตกใหม่ง่าย แข็งแรงและทนต่อการย่อยสลาย 
๖. ระบบรากยาว สานกันแน่น และช่วยอุ้มน้ำ 
๗. บริเวณรากเป็นที่อาศัยของจุลินทรีย์ 
๘. ปรับตัวกับสภาพต่าง ๆ ได้ดี ทนทานต่อโรคพืชทั่วไป 
๙. ส่วนที่เจริญต่ำกว่าผิวดิน ช่วยให้อยู่รอดได้ดีในสภาพต่าง ๆ

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEg_dbiXRo0odwi08aZiIm5SLQvLYr3SZg_ULMJEnt2dhW73bttu-fnIR4dlQRzP_3Z55J9lAn80haQH3RZhW92p0E4vXiu0S-guEQj97Pqxl01f23EEb-Ay1slsGAKr-0KA9HaOqS8ywAQ/s320/1.jpeg

การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่การเกษตร
สำหรับการปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่เกษตรกรรมมีจุดประสงค์ที่สำคัญเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรดินและการอนุรักษ์ดินและน้ำ ซึ่งประกอบด้วย 
๑. การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ลาดชัน ควรปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวตามแนวระดับขวางความลาดเทในต้นฤดูฝน โดยการทำแนวร่องปลูกตามแนวระดับ ใช้ระยะระหว่างต้น ๕ เซนติเมตร สำหรับกล้ารากเปลือยและระยะ ๑๐ เซนติเมตร สำหรับกล้าถุง ระยะห่างแถวตามแนวดิ่งไม่เกิน ๒ เมตร หญ้าแฝกจะเจริญเติบโตแตกกอชิดกันภายใน ๔-๖ เดือน 
๒. การปลูกเพื่อควบคุมร่องน้ำและกระจายน้ำ นำกล้าหญ้าแฝกในถุงพลาสติกที่มีการแตกกอและแข็งแรงดีแล้วไปปลูกในร่องน้ำ โดยขุดหลุมปลูกขวางร่องน้ำ เป็นแนวตรง หรือแนวหัวลูกศรชี้ย้อนไปทิศทางน้ำไหลอาจใช้กระสอบทรายหรือก้อนหิน ช่วยทำคันเสริมฐานให้มั่นคงตามแนวปลูกหญ้าแฝก ระยะห่างระหว่างต้น ๕ เซนติเมตร สำหรับกล้ารากเปลือย และ ๑๐ เซนติเมตร สำหรับกล้าถุง และระหว่างแนวปลูกหญ้าแฝกไม่เกิน ๒ เมตร ตามแนวตั้งหลังจากเกิดคันดินกั้นน้ำควรปลูกหญ้าแฝกต่อจากแนวคันดินกั้นน้ำออกไปทั้งสองข้าง เพื่อเป็นการกระจายน้ำเข้าสู่พื้นที่เพาะปลูก 
๓. การปลูกเพื่อรักษาความชุ่มชื้นในสวนผลไม้ ควรปลูกหญ้าแฝกในสวนผลไม้ระยะที่ไม้ผลยังไม่โต หรือปลูกก่อนที่จะลง ไม้ผล โดยปลูกแถวหญ้าแฝกขนานไปกับแถวของไม้ผลที่ระยะกึ่งกลางของแถวไม้ผล หรือปลูกเป็นรูปครึ่งวงกลมให้ห่างจากโคนต้นไม้ผล ๒.๕ เมตร เพื่อไม้ผลเจริญเติบโตขึ้นมาคลุมพื้นที่ หญ้าแฝกจะตายไปกลายเป็นอินทรียวัตถุในดินต่อไป
๔. การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ดอนที่ปลูกพืชไร่ การปลูกหญ้าแฝกตามแนวระดับในพื้นที่ดอนที่ปลูกพืชไร่ โดยการขุดร่องปลูกตามแนวระดับ ระยะห่างระหว่างต้น 5 เซนติเมตร สำหรับกล้ารากเปลือย และ 10 เซนติเมตร สำหรับกล้าถุง ควรใช้ปุ๋ยหมักรองพื้นก่อนปลูกหญ้าแฝก หรือปลูก หญ้าแฝกเป็นแนวระหว่างแถวปลูกพืชไร่ และควรปลูกในสภาพดินที่มีความชุ่มชื้นในช่วงต้นฤดูฝน 
๕. การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ราบหรือพื้นที่ลุ่ม ในสภาพพื้นที่ราบหรือพื้นที่ลุ่มที่มีการปรับสภาพเป็นแปลงยกร่องเพื่อปลูกพืชนั้น สามารถปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวรอบขอบเขตพื้นที่ หรือปลูกที่ขอบแปลงยกร่องหญ้าแฝกจะช่วยยึดดินไม่ให้พังทลาย และรักษาความชื้นในดินเอาไว้ 
๖. การปลูกรอบขอบสระเพื่อกรองตะกอนดิน ควรปลูกตามแนวที่ระดับน้ำสูงสุดท่วมถึง ๑ แนว และปลูกเพิ่มขึ้นอีก ๑-๒ แนวเหนือแนวแรก ซึ่งขึ้นอยู่กับความลึกของขอบสระ ระยะห่างระหว่างต้น ๕ เซนติเมตร สำหรับกล้ารากเปลือย และ ๑๐ เซนติเมตร สำหรับกล้าถุง โดยขุดหลุมปลูกต่อเนื่องกันไป ในระยะแรกควรดูแลปลูกซ่อมแซมให้แถวหญ้าแฝกเจริญเติบโตหนาแน่นเมื่อน้ำไหลบ่ามาลงสระตะกอนดินที่ถูกพัดพามากับน้ำ จะติดค้างอยู่กับแถวหญ้าแฝก ส่วนน้ำจะค่อย ๆ ไหลผ่านลงสู่สระและระบบรากของหญ้าแฝกยังช่วยยึดติดดินรอบ ๆ ขอบสระไม่ให้เกิดการ พังทลาย 

รูปแบบการปลูกหญ้าแฝก
เพื่อให้การดำเนินการปลูกหญ้าแฝกตามโครงการนี้มีรูปแบบที่ชัดเจน จึงได้มีการกำหนดรูปแบบการปลูกที่สามารถนำไปปฏิบัติในพื้นที่ได้ ซึ่งประกอบด้วย 

๑. การปลูกในระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ การปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวเดี่ยวขวางความลาดชันของพื้นที่ถ้าใช้กล้าแบบรากเปลือยจะปลูกระยะระหว่างต้น ๕ เซนติเมตร ถ้าเป็นกล้าถุงพลาสติก ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น ๑๐ เซนติเมตร โดยปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวตามแนวระดับ ให้มีระยะห่างระหว่างแถวตาม แนวดิ่งไม่เกิน ๒ เมตร ความยาวของแถวหญ้าแฝกขึ้นกับสภาพพื้นที่ และพื้นที่ว่างระหว่างแถวหญ้าแฝกจะเป็นพื้นที่ปลูกพืชหลัก 
๒. สระน้ำปลูก ๒ แถว 
- แถวที่ ๑ ปลูกห่างขอบบ่อ ๕๐ เซนติเมตร จนรอบบ่อ
- แถวที่ ๒ ปลูกที่ระดับทางน้ำเข้า จนรอบบ่อ 
๓.อ่างเก็บน้ำปลูก ๓ แถว 
- แถวที่ ๑ ปลูกที่ระดับทางน้ำล้นจนรอบอ่าง ยกเว้นบริเวณคันหรือสันอ่างเก็บน้ำ 
- แถวที่ ๒ ปลูกที่ระดับสูงกว่า แถวที่ ๑ ตามแนวดิ่ง ๒๐ เซนติเมตร จนรอบอ่าง ยกเว้นบริเวณคันหรือสันอ่างเก็บน้ำ 
- แถวที่ ๓ ปลูกที่ระดับต่ำกว่า แถวที่ ๑ ตามแนวดิ่ง ๒๐ เซนติเมตร จนรอบอ่าง ยกเว้นบริเวณคันหรือสันอ่างเก็บน้ำ 
๔. ปลูกริมคลองส่งน้ำ ๑ แถว ห่างขอบคลองส่ง ๓๐ เซนติเมตร 
๕. ปลูกบนร่องสวน ๑ แถว ห่างขอบแปลง ๓๐ เซนติเมตร 
๖. ปลูกอยู่บนไหล่ถนน ๑ แถว สำหรับถนนหรือทางลำเลียง 
๗. ปลูกครึ่งวงกลมล้อมต้นไม้ 
- ต้นไม้ขนาดเล็ก รัศมีขนาด ๑ เมตร เป็นระยะทาง ๓ เมตร 
- ต้นไม้ขนาดกลาง รัศมีขนาด ๒ เมตร เป็นระยะทาง ๖ เมตร 
- ต้นไม้ขนาดใหญ่ รัศมีขนาด ๓ เมตร เป็นระยะทาง ๙ เมตร 
๘. ปลูกวงกลมล้อมต้นไม้ 
- ต้นไม้ขนาดเล็ก รัศมีขนาด ๑ เมตร เป็นระยะทาง ๖ เมตร 
- ต้นไม้ขนาดกลาง รัศมีขนาด ๒ เมตร เป็นระยะทาง ๑๒ เมตร 
- ต้นไม้ขนาดใหญ่ รัศมีขนาด ๓ เมตร เป็นระยะทาง ๑๘ เมตร 
การปลูกหญ้าแฝกทุกครั้งจะต้องปลูกให้ต้นชิดติดกันเป็นแถว ไม่ว่าจะเป็นกรณีแถวตรงหรือแถวโค้งรอบต้นไม้ก็ตาม ถ้าใช้กล้าถุงมีระยะปลูกระหว่างต้น ๑๐ เซนติเมตร และกล้ารากเปลือยระยะปลูก ๕ เซนติเมตร




         

 

 

 

 

 

                          ครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ




http://www.xn--12co9drbac8a9as5aiidh8isei1npa.com/userfiles/image/__1_~1.JPG

      พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ได้ทรงมีพระราชดําริและได้พระราชทานแนวคิด แนวทางการปฏิบิติ ต่างๆ ให้กับปวงชนชาวไทย เพื่อเปลี่ยนนการดำเนินชีวิต ทั้งในระดับปัจเจกบุคคล ระดับชุมชน  ระดับองค์กร  ระดับรัฐ  ให้รอดพ้นจากวิกฤตและดําเนินอยู่ในสังคมได้อย่างสมดุล  มั่นคง และยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ซึ่งได้มีการนําแนวพระราชดําริต่างๆ มาจัดทําเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ อันมีบทบาทสําคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน  โดยเฉพาะการพัฒนาชนบท ตามแนวพระราชดําริที่เป็นต้นแบบของการนําแนวคิด  และวิธีการพัฒนาชนบทอย่างครบวงจร หรือที่เรียกว่า บริการรวมที่จุดเดียว”(ONE  STOP  SERVICES)”  เพื่อยกระดับชีวิต  ความเป็นอยู่ของประชาชนผู้ยากไร้  ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนในพื้นที่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ โดยเน้นการพัฒนาด้านแหล่งนํ้าการเกษตร สิ่งแวดล้อม และการส่งเสริมอาชีพ ซึ่งเป็นแนวพระราชดําริที่สําคัญ  และที่ได้ทรงดําเนินการมาต้ังแต่ปี พ.ศ.๒๔๙๓ เป็นต้นมาจวบจนถึงปัจจุบันนี้ โดยที่ประเทศไทยได้มีการพัฒนาหลายรูปแบบผ่านมาเป็นระยะเวลายาวนาน มีการดําเนินการที่คอยเป็นคอยไปตามลําดับข้ันตอนตามความพร้อมของแต่ละท้องถิ่นเป็นหลัก  ท้ังนี้เพื่อให้ประชาชนพออยู่พอกินและอยู่ได้ด้วยการพึ่งพาตนเองท้ังด้านเศรษฐกิจและสังคม ในขณะเดียวกันก็ให้ความสําคัญกับการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ที่พระองค์ได้พระราชทานแนวทางการดําเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ เพื่อให้องค์กรภาครัฐ และภาคเอกชน สามารถสนองพระราชดําริได้ อย่างมีประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผลเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน สอดคล้องกับแนวคิดของสหประชาชาติ ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๓๕  สหประชาชาติได้เน้นความสําคัญการพัฒนาในสามมติ ได้แก่ มิติทางสังคม มิติทางเศรษฐกิจ และมิติทางสิ่งแวดล้อม โดยได้กําหนดให้เป็นแผนแม่บทในระดบโลกในชื่อของแผนปฏิบิตัการ ๒๑ (AGENDA 21) 


      การดําเนินงานของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ได้น้อมนําเอาพระราชดําริมาใช้ในการดําเนินงานช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสกลุ่มต่างๆท้ังในสังคมเมือง และในสังคมชนบทห่างไกล ตามโครงการพระราชดาริ และโครงการตามพระราชประสงค์ต่างๆ ที่กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ มีส่วนรับผิดชอบหลายโครงการด้วยกัน ซึ่งหลายโครงการเป็นความรับผิดชอบโดยตรง และบางโครงการเป็นงานที่กรมพัฒนาสังคม และสวัสดิการเข้าไปร่วมดำเนินการกับหน่วยงานอื่นๆ



วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2559

เพลง อย่างน้อย เพลง สวมเขา



                      เพลง สวมเขา

                                                      เพลง อย่างน้อย

                                           https://www.youtube.com/watch?v=n3tdS0Xrl7U

วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

blog คืออะไร

บล็อก (Blog) คือเว็บไซด์รูปแบบหนึ่ง ที่มีลักษณะรูปร่างหน้าตาคล้ายๆกับการเขียนไดอารี่ หรือ บันทึกส่วนตัว ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบัน เนื่องจากเราใช้ฟรี ไม่ต้องเสียเงิน
- คำว่า "Blog" มาจากคำเต็มว่า "Weblog" (ตัด We ทิ้ง คงเหลือแต่ blog) ซึ่งโดยนัยแล้วหมายถึง การบันทึกข้อมูล(Log) บน เว็บ(Web) นั่นเอง 
- โดยผู้ที่เขียนบล๊อกเป็นอาชีพ จะถูกเรียกกันว่า "บล็อกเกอร์" (Blogger
- จุดเด่นที่สำคัญของ Blog คือ จะมีระบบที่ผู้อ่านและผู้เขียนสามารถแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนกันได้ โดยผ่านทางระบบ Comment ของบล๊อก

Blog ใช้ทำอะไรได้บ้าง?

ทำBlog เป็นเว็บไซด์ส่วนตัว เพื่อแชร์ข้อมูลส่วนตัวให้กับผู้อื่นๆ เช่น บันทึกไดอารี่ 
เขียนBlog เพื่อบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ นำเสนอสิ่งที่ตนเองรู้ หรือสิ่งที่ตนเองสนใจ เพื่อแบ่งปันให้กับผู้อื่น
สร้างBlog ทำเป็นเว็บไซด์เพื่อใช้ในการโปรโมทธุรกิจ ร้านค้า บริการต่างๆ
ใช้Blog ในการทำธุรกิจขายสินค้าออนไลน์ (E-Commerce)
- นอกจากนี้ Blog ยังเป็นช่องทางหนึ่งที่นิยมใช้กับเพื่อหารายได้จาก Internet Marketing
ขอขอบคุณhttp://www.jojho.com/2013/05/what-is-blog.html